Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพการสื่อสารภายในของศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประชากรผู้ให้ข้อมูล คือ พนักงานสายสนับสนุนระดับปฏิบัติการของสานักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวนทั้งสิ้น 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ คะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ซึ่งประสิทธิภาพการสื่อสารภายในของศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบไปด้วย ความน่าเชื่อถือ ความเหมาะสม ความต่อเนื่องและความสามารถของผู้รับของช่องทางการสื่อสาร และ ความเหมาะสม ความต่อเนื่อง ความสามารถของผู้รับ และความแจ่มชัดของเนื้อหาการสื่อสาร
ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพของช่องทางการสื่อสารโดยรวม พบว่า ความน่าเชื่อถือของช่องทางการสื่อสารอยู่ในระดับมาก ความต่อเนื่องและความสามารถของผู้รับข่าวสารตามช่องทางการสื่อสารอยู่ระดับปานกลาง และความเหมาะสมของช่องทางการสื่อสาร 5 อันดับ ได้แก่ ข้อความสั้น (CU SMS) Facebook วารสารจุฬาฯ สัมพันธ์ เว็บไซต์ (www.chula.ac.th) และป้ายประชาสัมพันธ์อิเล็กทรอนิกส์ 2. ประสิทธิภาพของเนื้อหาการสื่อสารโดยรวมพบว่า ความต่อเนื่องของเนื้อหาการสื่อสารที่ได้รับอยู่ในระดับมาก ความสามารถของการรับรู้และจดจาเนื้อหาการสื่อสารอยู่ในระดับมากที่สุด ความแจ่มชัดของเนื้อหาการสื่อสารอยู่ในระดับปานกลาง และความเหมาะสมของเนื้อหาการสื่อสาร 5 อันดับ ได้แก่ เรื่องการพัฒนาตนเองเพื่อให้เกิดความสาเร็จ เรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เรื่องทั่วไป เรื่องการอยู่ร่วมกันในสังคม และ เรื่องกิจกรรมเพื่อสังคมและการยกย่อง
คำสำคัญ: การสื่อสารภายใน / ประสิทธิภาพ / ช่องทาง / เนื้อหา
Abstract
The purpose of the research was to analyze the internal communication efficiency of Chulalongkorn University Communication Center. The population comprised the 200 support staff of the Office of University, Chulalalongkorn University. The research instrument for collecting the data was a survey questionnaire. The analytical statistics were frequency distribution, mean and standard deviation and percentage. The internal communication efficiency of Chulalongkorn University Communication Center consisted of the channels: credibility, context, continuity and capability of the audience and the content as devices used for analyzing the data
The results indicated that the overall internal communication efficiency channel showed a high level of credibility. The level of the audience’s continuity and capability of channel were rated at an average level. The appropriate contexts of channel were CU SMS, Official CU Facebook, Chula-Sumpun journal and LED Billboard. The overall internal communication efficiency content was revealed to be at a high level of continuity. The capability of the understanding and remembering of content was at the highest level. The clarity of content was at an average level and the appropriate contexts of content were self-development, life and property security, general information, living in society and corporate social responsibility and appreciation.
KEYWORDS: INTERNAL COMMUNICATION / EFFICIENCY / CHANNEL / CONTENT
อ่านรายละเอียด