นวัตกรรมการสื่อสารและการขยายพลังอำนาจในการอธิบายของทฤษฎี การสื่อสารจาก “พื้นที่โลกจริง” ไปสู่ “พื้นที่เสมือนจริง”

พรพรรณ ประจักษ์เนตร

Abstract

            การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและการกำเนิดของสื่อสังคม ได้แก่    เฟซบุ๊ก (Facebook) ทวิตเตอร์ (Twitter) บล๊อก (Blog) โซเชียลแคมป์ (Social camp) และอินสตาแกรม (Instagram) เปลี่ยนแปลงรูปแบบการติดต่อสื่อสารของมนุษย์ในบริบทต่างๆ อย่างมีนัยสำคัญ แวดวงวิชาการนิเทศศาสตร์จึงต้องเปลี่ยนแนวพินิจในการศึกษาการสื่อสารเพื่อให้เท่าทันกับรูปแบบการสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงไป บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องการขยายพลังอำนาจในการอธิบายของทฤษฎีการสื่อสารจาก”พื้นที่โลกจริง” ไปสู่ “พื้นที่เสมือนจริง” ภายใต้บริบทการสื่อสารได้แก่ (1) การสื่อสารภายในบุคคล (2) การสื่อสารระหว่างบุคคล (3) การสื่อสารกลุ่ม และ (4) การสื่อสารมวลชน การขยายอำนาจในการอธิบายของทฤษฎีไปสื่อพื้นที่เสมือนจริงสะท้อนให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนแนวทางการศึกษาของนักทฤษฎีนิเทศศาสตร์เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการสื่อสารสมัยใหม่

 

Information Communication Technologies (ICTs) and the immergence of Social Media (eg., Facebook, Twitter, Blog, Social Camp and Instragram) significantly change the nature of human communication. As social media gradually infuses every action in society, scholars in communication field have shifted their interest toward the exploration of human interactions and the role of Information Communication Technologies (ICTs) and social media in various communication contexts. The objective of this article is to examine how communication theories and concepts can be expanded to explain the nature of communication in “virtual setting” by exploring communication pattern in different context including (1) Intrapersonal Communication, (2) Interpersonal Communication, (3) Group Communication, and (4) Mass Communication.

Keywords

ดาวน์โหลด
Scroll to Top