การศึกษารูปแบบการมอบหมายงานและการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร กรณีศึกษา กองสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2562)

การศึกษารูปแบบการมอบหมายงานและการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร กรณีศึกษา กองสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2562)

การศึกษารูปแบบการมอบหมายงานและการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร กรณีศึกษา กองสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2562)
โดย สถาพร นาวานุเคราะห์ อุดมชัย สุพรรณวงศ์ และชุตินันท์ พันธ์จรุง
กองสื่อสารองค์กร สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการมอบหมายงานที่มีประสิทธิภาพและการประเมินผล บุคลากรกองสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการมอบหมายงานบุคลากรกองสื่อสารองค์กร โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 27 คน ซึ่งเป็น บุคลากรของกองสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษา พบว่าบุคลากรของกองสื่อสารองค์กรมีความพึงพอใจต่อความเหมาะสมของปฏิทินการประเมินบุคลากรกองสื่อสารองค์กรอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 69.3) ความเหมาะสมของขั้นตอนการมอบหมายงานของกองสื่อสารองค์กรระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 53.8) มีความเข้าใจในข้อกำหนดภาระหน้าที่ที่รับผิดชอบอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 65.4) มีส่วนร่วมในการกำหนดข้อตกลงการจ้างงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 42.3) และระดับดีมาก (ร้อยละ 34.6) มีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์ระดับค่าเป้าหมายการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 65.4) มีระดับความพึงพอใจในระดับมาก (ร้อยละ 61.5) ในข้อตกลงการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายว่ามีความเหมาะสมกับมาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง มีความเข้าใจในภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายก่อนการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 50.0) มีความพึงพอใจในภาพรวมในระดับมาก (ร้อยละ 61.5) เกี่ยวกับการมอบหมายภาระหน้าที่มีความเหมาะสมเป็นธรรม ภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายสอดคล้อง และสงเสริมในการพัฒนาเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นรวมอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 46.3) มีความพึงพอใจในในระดับมาก (ร้อยละ 38.5) ในกลไกการสนับสนุนการเข้าสู่ตำแหน่งให้สูงขึ้น มีความพึงพอใจในการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นไปตามเงื่อนไขเกณฑ์ในการประเมินที่ตั้งไว้ตั้งแต่แรกมากโดยภาพรวมในระดับมาก (ร้อยละ 53.8) และนอกจากนี้พบว่าบุคลากรกองสื่อสารองค์กรมีความพึงพอใจเกี่ยวกับความเหมาะสมในภาพรวมของการมอบหมายงานของกองสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยขอนแก่นในระดับมาก (ร้อยละ 57.7) ดังนั้น จากการศึกษารูปแบบการมอบหมายงานและการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร กรณีศึกษา กองสื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยขอนแก่นผ่านแบบสอบถามในครั้งนี้ สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการมอบหมายงานและการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรกองสื่อสารองค์กรให้ดีขึ้น สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เป็นรูปแบบสำหรับการมอบหมายงานสำหรับองค์กรอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยขอนแก่นต่อไป

ดาวน์โหลด

About The Author